วรรณะของสี
วรรณะของสี คือ ความแตกต่างขงสีแต่ละกลุ่มแต่ละฝ่ายแบ่งออกเป็น 2 วรรณะ
1.วรรณะสีร้อน (WARM TONE) ประกอบด้วยสีเหลือง สีส้มเหลือง สีส้ม สีส้มแดง สีม่วงแดงและสีม่วง สีในวรรณะร้อนนี้
จะไม่ใช่สีสดๆ ดังที่เห็นในวงจรสีเสมอไป เพราะสีในธรรมชาติย่อมมีสีแตกต่างไปกว่าสีในวงจรสีธรรมชาติอีกมาก ถ้าหากว่าสีใดค่อนข้างไปทางสีแดงหรือสีส้ม เช่น สีน้ำตาลหรือสีเทาอมทอง ก็ถือว่าเป็นสีวรรณะร้อน
2.วรรณะสีเย็น (COOL TONE) ประกอบด้วย สีเหลือง สีเขียวเหลือง สีเขียว สีเขียวน้ำเงิน สีน้ำเงิน สีม่วงน้ำเงิน และสีม่วง
ส่วนสีอื่นๆ ถ้าหนักไปทางสีน้ำเงินและสีเขียวก็เป็นสีวรรณะเย็นดังเช่น สีเทา สีดำ สีเขียวแก่ เป็นต้น จะสังเกตได้ว่าสีเหลืองและสีม่วง
อยู่ทั้งวรรณะร้อนและวรรณะเย็น ถ้าอยู่ในกลุ่มสีวรรณะร้อนก็ให้ความรูสึกร้อนและถ้าอยู่ในกลุ่มสีวรรณะเย็นก็ให้ความรู้สึกเย็นไปด้วย
สีเหลืองและสีม่วงจึงเป็นสีได้ทั้งวรรณะร้อนและวรรณะเย็น
-ในการระบายสี เมื่อนำสีหลายๆ สีมาระบายอย่างอิสระ และผสานกลมกลืนเป็นอย่างดีเมื่อชำนาญจะเห็นว่า วรรณะของสีจะเข้า
มามีบทบาทในการเขียนภาพอยู่เสมอ คือจะต้องแสดงออกไปทางวรรณะใดวรรณะหนึ่ง ระหว่างวรรณะร้อนและวรรณะเย็น จึงจะเป็น
ภาพเขียนที่ดี ภาพที่แสดงวรรณะเย็นมักจะเอาสีประเภทเย็น (COOL COCOUR) มาใช้มาก ส่วนภาพที่แสดงวรรณะร้อนก็เอาสี
ประเภทร้อน (WARM COCOUR) มาใช้มากเช่นกัน
ในวรรณะของสีสามารถแยกย่อยได้อีก 2 ประการ เช่น วรรณะสีร้อน จะมีวรรณะสีร้อนอย่างเบาบาง (LIGHT WARM TONE)
และวรรณะสีร้อนอย่างเข้มข้น (DARK WARM TONE) ทั้งนี้ย่อมเกี่ยวกับค่าของสี (VALUSE OF THE COCOURS) ที่นำมาใช้
-ภาพที่ใช้วรรณะสีเย็นจะแสดงความเศร้า ความสงบ ส่วนภาพที่ใช้วรรณะสีร้อนจะแสดงอารมณ์ ตื่นเต้น กระฉับกระเฉง รื่นเริง
ความขัดแย้ง จิตรกรมีอารมณ์เช่นใด การใช้สีจะแสดงวรรณะของสีออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน เช่น สมัยเมื่อ “ปิคัสโซ่” จิตรกรเอกอยู่
ในวัยหนุ่ม มีความรักและกระชุ่มกระชวย ภาพเขียนของเขาจึงมีสีวรรณะร้อน ค่อยข้างไปชมพูและมีอยู่ระยะหนึ่งซึ่งตัวเขาทุกข์ระทม
จิตใจเศร้าหมอง ภาพเขียนในระยะนั้น จะมีสีวรรณะเย็นค่อนข้างไปทางสีน้ำเงิน เป็นต้น ไม่ว่าจิตรกรคนใดเขียนภาพด้วยวิธีใดก็ตาม
วรรณะของสีจะต้องมีบทบาทแสดงอารมณ์ออกมาให้เห็นเสมอ
-การผสานกันของสีระหว่างวรรณะที่แตกต่างกัน คือ การเอาสีวรรณะร้อนและวรรณะเย็น มาระบายในภาพเดียวกัน ถ้าสีวรรณะ
ร้อนมีเปอร์เซ็นต์มากกว่า ตั้งแต่ 70% ขึ้นไป โดยสีวรรณะเย็นมีปริมาณน้อยกว่า 30% ผลงานของภาพนั้นจะเป็นภาพวรรณะสีร้อน
(WARM TONE) เช่น เราเลือกเอาสีจากวงจรของสีทั้งวรรณะสีร้อนและวรรณะสีเย็น ดังนี้ สีส้ม สีเหลือง สีเขียวเหลือง และสีเขียวร่าง
แบบที่เหมือนกัน 2 แบบ แต่ระบายสีให้มีวรรณะต่างกัน
-แบบแรกใช้สีส้มและเหลือง มากกว่า 70% ของพื้นที่ภาพทั้งหมด แล้วใช้สีเขียวเหลือง และสีเขียว น้อยกว่า 30% ผลจะเป็นภาพ
วรรณะสีร้อนดังนั้นจะเห็นว่าภาพที่ปรากฏเป็นภาพวรรณะสีร้อนหรือภาพวรรณะสีเย็น ไม่จำเป็นจะต้องให้สีวรรณะสีร้อนหรือวรรณะ
สีเย็นแต่อย่างเดียวเพราะเราอาจจะเอาสีของวรรณะที่แตกต่างกันมาผสมกันได้เพียงแต่ควบคุมประมาณการใช้สีวรรณะใดวรรณะหนึ่ง
ให้มีเปอร์เซ็นต์มากกว่ากัน จะได้วรรณะของสีตามต้องการ
-ในการใช้สีเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องใช้สีแท้ๆ ในตัวของมันเอง ภาพที่สวยงามนั้น ส่วนมากเกิดจากการใช้ค่าในน้ำหนักของสีๆ เดียว
เข้าผสานด้วย ภาพเขียนอันมีชื่อเสียงของโลกส่วนมากก็จะใช้กฎเกณฑ์ดังกล่าวนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น