วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

รายชื่อสมาชิกกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาศิลปะ

รายชื่อสมาชิกกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาศิลปะ

1. นางสาว ชุตินันท์ หอสูติสิมา รหัสนักศึกษา 52191880203
2. นางสาว ปวีณา บุญเสริม       รหัสนักศึกษา 52191880213
3. นางสาว ศิวัชญา ศรีภูมิทอง  รหัสนักศึกษา 52191880226
4. นางสาว เอื้องนภา คิดสม      รหัสนักศึกษา 52191880239
5. นางสาว อรทัย ประกอบดี      รหัสนักศึกษา 52191880240

นักศึกษาโปรกแกรมวิชา การประถมศึกษา
หมู่ 2 ค.บ. 5/3

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วรรณะของสี

วรรณะของสี คือ ความแตกต่างขงสีแต่ละกลุ่มแต่ละฝ่ายแบ่งออกเป็น 2 วรรณะ 
1.วรรณะสีร้อน (WARM TONE) ประกอบด้วยสีเหลือง สีส้มเหลือง สีส้ม สีส้มแดง สีม่วงแดงและสีม่วง สีในวรรณะร้อนนี้
จะไม่ใช่สีสดๆ ดังที่เห็นในวงจรสีเสมอไป เพราะสีในธรรมชาติย่อมมีสีแตกต่างไปกว่าสีในวงจรสีธรรมชาติอีกมาก ถ้าหากว่าสีใด
ค่อนข้างไปทางสีแดงหรือสีส้ม เช่น สีน้ำตาลหรือสีเทาอมทอง ก็ถือว่าเป็นสีวรรณะร้อน

2.วรรณะสีเย็น (COOL TONE) ประกอบด้วย สีเหลือง สีเขียวเหลือง สีเขียว สีเขียวน้ำเงิน สีน้ำเงิน สีม่วงน้ำเงิน และสีม่วง
ส่วนสีอื่นๆ ถ้าหนักไปทางสีน้ำเงินและสีเขียวก็เป็นสีวรรณะเย็นดังเช่น สีเทา สีดำ สีเขียวแก่ เป็นต้น จะสังเกตได้ว่าสีเหลืองและสีม่วง
อยู่ทั้งวรรณะร้อนและวรรณะเย็น ถ้าอยู่ในกลุ่มสีวรรณะร้อนก็ให้ความรูสึกร้อนและถ้าอยู่ในกลุ่มสีวรรณะเย็นก็ให้ความรู้สึกเย็นไปด้วย
สีเหลืองและสีม่วงจึงเป็นสีได้ทั้งวรรณะร้อนและวรรณะเย็น
 -ในการระบายสี เมื่อนำสีหลายๆ สีมาระบายอย่างอิสระ และผสานกลมกลืนเป็นอย่างดีเมื่อชำนาญจะเห็นว่า วรรณะของสีจะเข้า
มามีบทบาทในการเขียนภาพอยู่เสมอ คือจะต้องแสดงออกไปทางวรรณะใดวรรณะหนึ่ง ระหว่างวรรณะร้อนและวรรณะเย็น จึงจะเป็น
ภาพเขียนที่ดี ภาพที่แสดงวรรณะเย็นมักจะเอาสีประเภทเย็น (COOL COCOUR) มาใช้มาก ส่วนภาพที่แสดงวรรณะร้อนก็เอาสี
ประเภทร้อน (WARM COCOUR) มาใช้มากเช่นกัน
 ในวรรณะของสีสามารถแยกย่อยได้อีก 2 ประการ เช่น วรรณะสีร้อน จะมีวรรณะสีร้อนอย่างเบาบาง (LIGHT WARM TONE)
และวรรณะสีร้อนอย่างเข้มข้น (DARK WARM TONE) ทั้งนี้ย่อมเกี่ยวกับค่าของสี (VALUSE OF THE COCOURS) ที่นำมาใช้
 -ภาพที่ใช้วรรณะสีเย็นจะแสดงความเศร้า ความสงบ ส่วนภาพที่ใช้วรรณะสีร้อนจะแสดงอารมณ์ ตื่นเต้น กระฉับกระเฉง รื่นเริง
ความขัดแย้ง จิตรกรมีอารมณ์เช่นใด การใช้สีจะแสดงวรรณะของสีออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน เช่น สมัยเมื่อ ปิคัสโซ่จิตรกรเอกอยู่
ในวัยหนุ่ม มีความรักและกระชุ่มกระชวย ภาพเขียนของเขาจึงมีสีวรรณะร้อน ค่อยข้างไปชมพูและมีอยู่ระยะหนึ่งซึ่งตัวเขาทุกข์ระทม
จิตใจเศร้าหมอง ภาพเขียนในระยะนั้น จะมีสีวรรณะเย็นค่อนข้างไปทางสีน้ำเงิน เป็นต้น ไม่ว่าจิตรกรคนใดเขียนภาพด้วยวิธีใดก็ตาม
วรรณะของสีจะต้องมีบทบาทแสดงอารมณ์ออกมาให้เห็นเสมอ
 -การผสานกันของสีระหว่างวรรณะที่แตกต่างกัน คือ การเอาสีวรรณะร้อนและวรรณะเย็น มาระบายในภาพเดียวกัน ถ้าสีวรรณะ
ร้อนมีเปอร์เซ็นต์มากกว่า ตั้งแต่ 70% ขึ้นไป โดยสีวรรณะเย็นมีปริมาณน้อยกว่า 30% ผลงานของภาพนั้นจะเป็นภาพวรรณะสีร้อน
(WARM TONE) เช่น เราเลือกเอาสีจากวงจรของสีทั้งวรรณะสีร้อนและวรรณะสีเย็น ดังนี้ สีส้ม สีเหลือง สีเขียวเหลือง และสีเขียวร่าง
แบบที่เหมือนกัน 2 แบบ แต่ระบายสีให้มีวรรณะต่างกัน
-แบบแรกใช้สีส้มและเหลือง  มากกว่า 70% ของพื้นที่ภาพทั้งหมด แล้วใช้สีเขียวเหลือง และสีเขียว น้อยกว่า 30% ผลจะเป็นภาพ
วรรณะสีร้อนดังนั้นจะเห็นว่าภาพที่ปรากฏเป็นภาพวรรณะสีร้อนหรือภาพวรรณะสีเย็น ไม่จำเป็นจะต้องให้สีวรรณะสีร้อนหรือวรรณะ
สีเย็นแต่อย่างเดียวเพราะเราอาจจะเอาสีของวรรณะที่แตกต่างกันมาผสมกันได้เพียงแต่ควบคุมประมาณการใช้สีวรรณะใดวรรณะหนึ่ง
ให้มีเปอร์เซ็นต์มากกว่ากัน จะได้วรรณะของสีตามต้องการ
-ในการใช้สีเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องใช้สีแท้ๆ ในตัวของมันเอง ภาพที่สวยงามนั้น ส่วนมากเกิดจากการใช้ค่าในน้ำหนักของสีๆ เดียว
เข้าผสานด้วย ภาพเขียนอันมีชื่อเสียงของโลกส่วนมากก็จะใช้กฎเกณฑ์ดังกล่าวนี้
1.การใช้สีวรรณะเดียว
ความหมายของสีวรรณะเดียว (tone) คือกลุ่มสีที่แบ่งออกเป็นวงล้อของสีเป็น 2 วรรณะ คือ
วรรณะร้อน (warm tone) ซึ่งประกอบด้วย สีเหลือง สีส้ม สีแดง สีม่วง สีเหล่านี้ให้อิทธิพล ต่อความรู้สึก ตื่นเต้น เร้าใจ กระฉับกระเฉง ถือว่าเป็นวรรณะร้อน
วรรณะเย็น (cool tone) ประกอบด้วย สีเหลือง สีเขียว สีน้ำเงิน สีม่วง สีเหล่านี้ดู เย็นตา ให้ความรู้สึก สงบ สดชื่น (สีเหลืองกับสีม่วงอยู่ได้ทั้งสองวรรณะ)
การใช้สีแต่ละครั้งควรใช้สีวรรณะเดียวในภาพทั้งหมด เพราะจะทำให้ภาพความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (เอกภาพ) กลมกลืน มีแรงจูงใจให้คล้อยตามได้มาก
2.การใช้สีต่างวรรณะ
หลักการทั่วไป ใช้อัตราส่วน 80% ต่อ 20% ของวรรณะสี คือ ถ้าใช้สีวรรณธร้อน 80% สีวรรณะเย็นก็ 20% เป็นต้น ซึ่งการใช้แบบนี้สร้างจุดสนใจของผู้ดู ไม่ควรใช้อัตราส่วนที่เท่ากันเพราะจะทำให้ไม่มีสีใดเด่น ไม่น่าสนใจ
3.การใช้สีตรงกันข้าม
สีตรงข้ามจะทำให้ความรู้สึกที่ตัดกันรุนแรง สร้างความเด่น และเร้าใจได้มากแต่หากใช้ไม่ถูกหลัก หรือ ไม่เหมาะสม หรือใช้จำนวนสีมากสีจนเกินไป ก็จะทำให้ความรุ้สึกพร่ามัว ลายตา ขัดแย้ง ควรใช้สีตรงข้าม ในอัตราส่วน 80% ต่อ20% หรือหากมีพื้นที่เท่ากันที่จำเป็นต้องใช้ ควรนำสีขาว หรือสีดำ เข้ามาเสริม เพื่อ ตัดเส้นให้แยกออก จาก กันหรืออีกวิธีหนึ่งคือการลดความสดของสีตรงข้ามให้หม่นลงไป
วรรณะของสี
        คือสีที่ให้ความรู้สึกร้อน-เย็น ในวงจรสีจะมีสีร้อน 7 สี และสีเย็น 7 สี ซึ่งแบ่งที่ สีม่วงกับสีเหลือง ซึ่งเป็นได้ทั้งสองวรรณะ แบ่งออกเป็น 2 วรรณะ
         1.วรรณะสีร้อน (WARM TONE) ประกอบด้วยสีเหลือง สีส้มเหลือง สีส้ม สีส้มแดง สีม่วงแดงและสีม่วง สีใน  วรรณะร้อนนี้จะไม่ใช่สีสดๆ ดังที่เห็นในวงจรสีเสมอไป เพราะสีในธรรมชาติย่อมมีสีแตกต่างไปกว่าสีในวงจรสีธรรมชาติอีกมาก ถ้าหากว่าสีใด  ค่อนข้างไปทางสีแดงหรือสีส้ม เช่น สีน้ำตาลหรือสีเทาอมทอง ก็ถือว่าเป็นสีวรรณะร้อน
         2.วรรณะสีเย็น (COOL TONE) ประกอบด้วย สีเหลือง สีเขียวเหลือง สีเขียว สีเขียวน้ำเงิน สีน้ำเงิน สีม่วงน้ำเงิน และสีม่วง ส่วนสีอื่นๆ ถ้าหนักไปทางสีน้ำเงินและสีเขียวก็เป็นสีวรรณะเย็นดังเช่น สีเทา สีดำ สีเขียวแก่ เป็นต้น จะสังเกตได้ว่าสีเหลืองและสีม่วงอยู่ทั้งวรรณะร้อนและวรรณะเย็น ถ้าอยู่ในกลุ่มสีวรรณะร้อนก็ให้ความรูสึกร้อนและถ้า อยู่ในกลุ่มสีวรรณะเย็นก็ให้ความรู้สึกเย็นไปด้วย สีเหลืองและสีม่วงจึงเป็นสีได้ทั้งวรรณะร้อนและวรรณะเย็น